การจัดตั้งสถานรับเลี้ยงเด็กปฐมวัยพีระยา นาวิน
ศาสตราจารย์ ดร.อุกฤษ มงคลนาวิน ได้พิจารณาเห็นว่าสถานะทางสังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมปัจจุบันทำให้ พ่อ-แม่-ปู่-ย่า-ตา-ยาย หรือผู้ปกครองเด็ก ต้องละทิ้งครอบครัวไปทำมาหากินหรือดำรงชีวิตในถิ่นฐานอื่น เพื่อหารายได้เลี้ยงดูครอบครัว
วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป เป็นตัวการสำคัญประการหนึ่งในการทำลายเด็กโดยไม่รู้ตัว ได้แก่ ภาวะที่ พ่อ – แม่ ต้องออกไปทำงานโดยทิ้งเด็กอยู่บ้านตามลำพัง หรือภาวะที่ต้องนำเด็กไปยังสถานที่ทำงาน เช่น ตามสถานที่ก่อสร้าง ตลอดจนการตระเวนขายของด้วยรถเข็น โดยมีเด็กนอนอยู่ใต้รถเข็นนั้น ซึ่งเป็นปัญหา ครอบครัวที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของเด็กอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
การที่ พ่อ – แม่ หรือ ผู้ปกครองไม่มีเวลาเลี้ยงดูลูกของตนเองอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะครอบครัวที่มีรายได้น้อย หรือครอบครัวที่ลูกมี “ พ่อ ” หรือ “ แม่ ” เพียงคนเดียวจากครอบครัวที่แตกแยก หรือไม่มีทั้งพ่อและแม่ที่จะให้การอบรมเลี้ยงดูทำให้เด็กหลายเป็น “ เด็กมีปัญหา ” กระทบต่อความสงบสุข และความปลอดภัยของสังคม
ในทางการแพทย์และทางจิตวิทยา พัฒนาการของเด็กทั้งด้านร่างกายและจิตใจ การเรียนรู้การพัฒนาบุคลิกภาพ และพฤติกรรม ต้องได้รับการปลูกฝังอย่างถูกต้องในช่วงวัยของเด็กก่อนวัยเรียน อายุระหว่าง 2 – 5 ปี
ดังนั้นในปี พ.ศ. 2533 มูลนิธิฯ จึงได้ริเริ่มโครงการรับเลี้ยงเด็กปฐมวัย อายุ 2 – 5 ปี โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด เพื่อช่วยเหลือครอบครัวที่มีรายได้น้อย ( อาจบริจาคให้มูลนิธิฯ จำนวนเล็กน้อยตามความสมัครใจ เพื่อแสดงถึงการมีส่วนร่วม แต่เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันของมีราคาสูงขึ้น จึงขอรับบริจาคจากผู้ปกครอง โดยให้มีส่วนร่วม แต่ถ้าครอบครัวที่เดือนร้อนจริงก็ไม่ต้องบริจาค โดยศูนย์ฯ ในกรุงเทพมหานคร บริจาคเป็นรายวัน วันละไม่เกิน 30 บาท ส่วนต่างจังหวัด วันละ 10 – 20 บาท หรือนำข้าวสาร ผลไม้ มาให้ศูนย์ฯ ตามกำลัง )
การเลี้ยงดูเด็กก่อนวัยเรียน ของสถานรับเลี้ยงเด็กปฐมวัย “ พีระยา นาวิน ” จึงเกิดขึ้นตามแนวทางของประธานกรรมการบริหารฯโดยให้หลักการว่าเด็กต้องได้รับการเอาใจใส่ด้วยความรัก ด้วยความเข้าใจ และด้วยความเมตตา และได้วางกฎเกณฑ์ ห้ามครูทำโทษเด็กด้วยการเฆี่ยนตีโดยเด็ดขาด
หลักการและเหตุผล
ทรัพยากรมนุษย์จะมีคุณภาพ และมีคุณค่าเพียงใดนั้นอยู่ที่พัฒนาการ ทางพันธุกรรม การอบรม การเลี้ยงดู การให้การศึกษา ตลอดจนการฝึกฝน เป็นต้น
“ เด็ก ” ถือว่าเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีความสำคัญมากทีสุดในโลกเพราะโลกจะอนุวัตรตามเด็กที่จะเติมโตขึ้น แทนที่ผู้ใหญ่ที่ แก่ เจ็บ และตายไปตามธรรมชาติ การสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น เพื่อความต่อเนื่อง ของอารยธรรมมนุษย์ จึงต้องอาศัยการเรียนรู้ของเด็กที่จะเติมโตมาแทนที่
ผู้ใหญ่ต่อไป
“ เด็กปฐมวัย ” ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้ และการปลูกฝังพัฒนาการ ในด้านต่างๆ ในรูปแบบของการจัดการศึกษาแรกเริ่มอย่างมีระบบการเตรียมเด็ก เพื่อการศึกษาในโลกยุคสหวิทยาการจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งยวด
“ ครู ” เป็นปัจจัยสำคัญของการจัดการศึกษาเด็กปฐมวัยทั้งระบบคำกล่าวที่ว่า
“ ครูคือพ่อแม่คนที่สอง ” จะเห็นได้ชัดเจนในบริบทของครูเด็กปฐมวัย เป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่จะบอกได้ว่า การจัดการศึกษาแบบใดถึงจะเหมาะสมกับเด็กปฐมวัย แต่ถ้าได้ครูที่มีความรู้ ความเข้าใจ มีความสามารถ ก็เท่ากับได้การศึกษาของเด็กปฐมวัยทั้งระบบ
ประวัติและความเป็นมา
พีระยา นาวิน เป็นชื่อของศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัยอายุ 2 – 6 ปี อยู่ในอุปถัมภ์ของพีระยานุ-เคราะห์มูลนิธิ ในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
ทีมาของชื่อ “ พีระยา นาวิน ” มาจากชื่อนามสกุลของท่านกรรมการบริหารพีระยานุ -เคราะห์มูลนิธิ ฯ 2 ท่าน
“ พีระยา ” มาจากชื่อของท่านผู้ก่อตั้งและประธานกรรมการบริหารกิตติมศักดิ์ แพทย์หญิง ดร. คุณเพียร เวชบุล ( พ.ศ.2481 – 2527 )
“ นาวิน ” มาจากสองพยางค์สุดท้ายของนามสกุลของ ศาสตราจารย์
ดร.อุกฤษ มงคลนาวิน ประธานกรรมการบริหาร พีระยานุเคราะห์มูลนิธิ ฯ ( พ.ศ. 2527 – ปัจจุบัน )
สถานรับเลี้ยงเด็กปฐมวัย พีระยา นาวิน ได้เปิดทำการรับเลี้ยงดูและพัฒนาเด็กอายุ 2-6 ปี จากครอบครัวที่มีรายได้น้อยเริ่ม เมื่อปี พ.ศ. 2533 โดยตั้งอยู่ตามแหล่งชุมชนที่ผ่านการสำรวจ
และคัดเลือกตามกฎเกณฑ์ของพีระยานุเคราะห์มูลนิธิ ฯ ได้แก่ เด็กจากครอบครัวที่มีรายได้น้อย
พ่อแม่ผู้ปกครองให้ความสำคัญกับเด็ก และเอาใจใส่ , ผู้นำชุมชนให้ความร่วมมือ และสนับสนุน
วิสัยทัศน์สถานรับเลี้ยงเด็กปฐมวัยพีระยา นาวิน
พีระยา นาวิน หมายถึง บุคลากรของโรงเรียนพีระยา นาวิน
มุ่งพัฒนา หมายถึง การมีเป้าหมายของการดำเนินงานกิจกรรมการศึกษา เพื่อให้ดีกว่าสภาพที่เป็นอยู่ นำมาซึ่งความเจริญทั้งทางโลก และทางธรรม
ถ่ายทอดวิชา หมายถึง ครูที่ได้รับการฝึกฝนมีประสบการณ์และความรู้อย่างดี เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ให้เด็กนักเรียน วิชาที่ถ่ายทอด ให้แก่เด็กนักเรียนนั้น นำมาซึ่งปัญญาตามมาตรฐาน ที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด
วิชาการที่ครูเป็นผู้ถ่ายทอดนั้น จะเป็นวิชาพื้นฐานในการศึกษาเล่าเรียน ที่เด็กนักเรียนจะใช้ศึกษาในชั้นสูงต่อไป วิชาที่ถูกถ่ายทอดไปยังนักเรียนนั้น ผู้ถ่ายทอดจะต้องเป็นผู้ที่มีความสมบูรณ์ทั้งกาย ใจ สติและปัญญา อีกทั้งมีทักษะในการที่จะถ่ายทอดวิชาต่างๆ ให้แก่เด็กนักเรียนได้เข้าใจ อย่างแจ่มแจ้ง
การถ่ายทอดวิชานั้น จะต้องอาศัยสื่อเป็นเครื่องมือในการถ่ายทอด เพื่อให้เกิดความเข้าใจ หรือให้เด็กนักเรียนเห็นเป็นรูปธรรม ได้แก่ สื่อการเรียนการสอนที่ครูผลิตขึ้น ของเล่น ที่ครูจัดเตรียมบทบาทสมมุติจากประสบการณ์ตรงที่เด็กเรียนรู้จากการปฏิบัติ
การถ่ายทอดวิชาที่สมบูรณ์แบบนั้น มีลักษณะเฉพาะสำหรับนักเรียนแต่ละคน ครูและนักเรียนจึงต้องมีความพร้อมที่จะถ่ายทอดและรับการถ่ายทอดทั้งสองฝ่ายจึงเกิดผล
ได้มาตรฐาน หมายถึง หลักเกณฑ์การประเมินอันเป็นที่ยอมรับตามหลักสากล ทั้งที่เป็นแนวคิดและแนวทางปฏิบัติในรูปแบบ หรือวิธีการอันนำมาซึ่งคุณภาพ
สร้างเด็กไทย หมายถึง พีระยา นาวิน มีความเชื่อที่ว่า “ การสร้างเด็ก คือการสร้างชาติ การสร้างชาติต้องเริ่มที่เด็ก ผู้ใดทำร้ายเด็ก ผู้นั้นทำลายชาติ ” ชาติไทยนั้นจะดำรงอยู่อย่างสถาพร และมีความมั่นคงได้ต้องอาศัยคนรุ่นหลังที่ถือกำเนิดเกิดมาในการที่จะสร้างชาติ และสืบชาติไทยต่อไปอย่างยั่งยืน ดังนั้นการสร้างเด็กไทยให้มีความรู้ มีวิชาที่ได้มาตรฐาน ได้คุณภาพ การศึกษาจะทำให้ประเทศไทย มีความมั่นคงเป็นปึกแผ่นเพราะผู้คนในประเทศชาติมีคุณภาพ
ให้สมบูรณ์กายใจ หมายถึง จิตใจอันแจ่มใส ในร่างกาย อันสมบูรณ์ สติปัญญา จะเพิ่มพูน พ่อแม่หนุน ครูนำพา
มีความรู้ หมายถึง วิชาที่ได้รับการถ่ายทอดนั้น นักเรียนสามารถนำมาประมวลเป็นองค์ความรู้นอกเหนือจากวิชาที่ได้ร่ำเรียนมาได้
คู่คุณธรรม หมายถึง วิชาที่ถ่ายทอดนั้น จะต้องให้เด็กนักเรียนได้คิดค้น จนได้ความรู้ นำไปสู่ภาคปฏิบัติ การปฏิบัตินั้น จะต้องประกอบ ไปด้วย ความชอบธรรมทางด้านศีลธรรม สังคมจึงจะมี ความสงบสุขได้ ลำพังเพียง ความรู้อย่างเดียว ไม่ทำให้ เด็กนักเรียนเอาตัวรอดได้เมื่อเติบโตขึ้น เพราะสังคม จะดำรงอยู่ได้ ความรู้นั้นต้องใช้ควบคู่กับคุณธรรม
คุณธรรมคือ สิ่งที่ทำให้ทุกคนอยู่ร่วมกัน ในสังคมอย่าง ร่มเย็นเป็นสุข หากผู้มีความรู้นำวิชาไปเบียดเบียนผู้ที่ด้อยกว่า ก็จะเป็นการเอาเปรียบ หากมีการเอาเปรียบมากก็ทำให้สังคมอยู่กันอย่างไม่มีความสงบสุข
ดำรงชีวิตอย่างปกติสุข หมายถึง การดำรงชีวิตด้วยความรู้คู่คุณธรรม ทำให้ชีวิตมีความสุขสงบ
และร่มเย็น ผู้มีความรู้คู่คุณธรรม จะไม่มีความทะเยอทะยานจนลืมศักยภาพของตนและครอบครัว เพราะเข้าใจสภาพชีวิต ความเป็นอยู่ของตนเองและครอบครัวที่แตกต่างกัน และมีความหลากหลาย ในสังคม ทำให้สามารถดำรงชีวิตตามสภาพของตนและสังคมที่ดำรงอยู่นั้นได้ โดยแนวทางและหลักพัฒนาด้วยตนเองและครอบครัว ให้มีความสุขตามศักยภาพ ด้วยความรู้คู่คุณธรรม
ปรัชญา
นิมิตตัง สาธุรูปานัง กตัญญู กตเวทิตา
ความกตัญญู กตเวที เป็นเครื่องหมายของคนดี
พันธกิจ
- จิตใจอันแจ่มใส ในร่างกายอันสมบูรณ์ สติปัญญาจะเพิ่มพูน พ่อ แม่หนุน ครูนำพา
- สร้างความรักในเด็กก่อน จึงค่อยฝึกเด็ก ทุกคนไม่ได้เก่งมาแต่แรกเกิด แต่เก่งเพราะขยันฝึก พ่อ-แม่ และครู ต้องเป็นผู้ฝึกเด็กที่ดี
- ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน คนอื่นใครเล่า จะเป็นที่พึ่งได้จริงแท้ มีตนที่ฝึกดีแล้ว เป็นที่พึ่งที่หาได้ยาก
- พีระยา นาวิน ไม่ได้สอนให้เด็กเก่งและแก่งแย่ง แต่สอนให้เด็ก รู้ – เข้าใจ คิดเป็น แยกแยะดี – ชั่วได้ เป็นคนดีและมีความสุข
พันธกิจ
การสร้างเด็ก คือการสร้างชาติ การสร้างชาติ ต้องเริ่มที่เด็ก
ผู้ใดทำร้ายเด็ก ผู้นั้นทำลายชาติ
พันธกิจ
สีม่วง